รูปแบบงานทัศนศิลป์

รูปแบบงานทัศนศิลป์
แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
1.1 รูปแบบเหมือนจริง (Realistic)
หมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ และการนำเสนอดังที่ตามองเห็น เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่งใน
งานจิตรกรรม การปั้น การแกะสลัก และการหล่อรูปบุคคลสำคัญที่ทำเป็นอนุสาวรีย์ในงานประติมากรรม เป็นต้น
การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบเหมือนจริง เป็นการนำทัศนธาตุต่าง ๆ มาสร้างสรรค์โดยการจัดองค์
ประกอบศิลป์ แสดงรายละเอียดของผลงานให้เหมือนจริงดังที่ตามองเห็น เช่น งานจิตรกรรม

ชื่อภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เทคนิค ดินสอถ่านชาโคล และสีชอล์กบนกระดาษ
ผลงานของศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี
ผลงาน จิตรกรรมคนเหมือน
สื่อความหมาย
ใช้โทนสีของภาพเป็นสีน้ำตาล โดยนำทัศนธาตุต่างๆมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างกลมกลืนน่าสนใจ โดยเฉพาะการนำเส้นโค้งลักษณะต่างๆมาถ่ายทอดรูปร่าง รูปทรงของบุคคลได้อย่างเหมือนจริง มีขนาด สัดส่วนที่ถูกต้องชัดเจน
การจัดวางภาพบนบริเวณว่างทำได้อย่างเหมาะสม
แสงเงาและสี มีการใช้ค่าน้ำหนักสีที่ดูกลมกลืน ศิลปินนำพื้นผิวมาใช้ในการเน้นพื้นหลังของภาพ ทำให้ภาพที่ให้ความรู้สึกนิ่งๆ กลับดูเคลื่อนไหว และมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น

งานประติมากรรม

ชื่อผลงาน ป้าอิน
เทคนิค ปูนปลาสเตอร์
ผลงานของไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
ผลงาน ประติมากรรมลอยตัว
สื่อความหมาย เป็นผลงานคนเหมือน รูปผู้หญิงสูงวัย ศิลปินได้นำทัศนธาตุต่างๆมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีลักษณะเหมือนจริงมากที่สุด มีการนำเส้นโค้งลักษณะต่างๆมาถ่ายทอดรูปร่าง รูปทรงของบุคคลและแสดงรายละเอียดต่างๆ
ผลงานนี้มีขนาดและสัดส่วนที่ถูกต้องชัดเจน
มีลักษณะพื้นผิวที่เหมือนจริง ดูจากผิวเนื้อมีการขัดและตกแต่งจนเรียบ ส่วนเสื้อผ้ามีลักษณะพื้นผิวที่หยาบกว่า ทำให้ผลงานมีความเด่นชัดและให้อารมณ์ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น

1.2 รูปแบบแบบตัดทอน (Distortion)
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะบิดเบือนไปจากของจริง โดยจะให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เหมือนจริงน้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับรูปแบบจากความคิดของศิลปินมากขึ้น เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว
การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบแบบตัดทอน เป็นการนำทัศนธาตุมาจัดองค์ประกอบศิลป์ของผลงาน โดย
การบิดเบือนไปจากของจริงตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว เช่น

ชื่อผลงาน ดอกไม้
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ
ผลงานของศาสตราจารย์สวัสด์ ตันติสุข
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมหุ่นนิ่งในรูปแบบตัดทอน ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานด้วยทัศนธาตุต่างๆได้อย่างกลมกลืนน่าสนใจ โดยเฉพาะการใช้เส้นในการตัดทอนรูปร่าง รูปทรงของหุ่นนิ่งให้มีรูปแบบตัดทอน
การจัดวางภาพลงบนวริเวณว่างทำได้อย่างเหมาะสม ขนาด สัดส่วนของภาพกับผืนผ้าใบมีการจัดวางได้อย่างสมุดเช่นกัน
แสงเงาและสีของผลงานมีการใช้ค่าน้ำหนักของสีที่ดูกลมกลืนกัน มีการนำสีข้างเคืยงมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานทำให้ภาพดูกลมกลืนด้วยสี
นอกจากนี้ยังถ่ายทอดลักษณะพื้นผิวด้วยรอยเชิงฝีแปรงของเส้นและสี

ชื่อผลงาน แม่กับลูก
เทคนิค ประติมากรรมปูนปลาสเตอร์
ผลงานของสุวิช สถิตวิทยานันท์
ผลงาน ประติมากรรมลอยตัว
สื่อความหมาย
เป็นผลงานประติมากรรมในรูปแบบตัดทอน รูปแม่กับลูก ศิลปินถ่ายทอดผลงานด้วยทัศนธาตุต่าง ๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือรูปร่าง รูปทรง ที่มีการตัดทอนรายละเอียด แสดงเส้นรอบนอกด้วยเส้นโค้งลักษณะต่าง ๆ ได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องกัน ขนาด สัดส่วนของผลงานก็สัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ส่วนสีของผลงานนั้นเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีของวัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์คือปูปลาสเตอร์ เป็นการสื่อความหมายถึงความรักอันบริสุทธิ์ระหว่างแม่กับลูก ในส่วนของพื้นผิวจะมีลักษณะผิวเรียบ ละเอียด แสดงถึงความนุ่นนวล ละมุนละไม ให้ความรู้สึกปลอดภัย น่าทะนุถนอม

1.3 รูปแบบตามความรู้สึก (Abstraction)
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ไม่มีรูปแบบและเรื่องราวเหมือนจริง แต่มุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินที่ถ่ายทอดลงในผลงาน
การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบตามความรู้สึก เป็นการนำทัศนธาตุมาใช้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความสนุกสนาน ความตื่นเต้น ความน่ากลัว ความเศร้า ความสับสน ความร้อนแรง ความรัก เป็นต้น

ชื่อผลงาน เปลี่ยนแปลง
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ
ผลงานของรุ่งศักด์ ดอกบัว
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย เป็นผลงานจิตรกรรมในรูปแบบตามความรู้สึก ศิลปินได้นำทัศนธาตุต่างๆมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยสี รูปร่าง รูปทรงอิสระ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ตื่นตาตื่นใจ และแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศิลปินผสมผสานทัศนธาตุๆได้อย่างกลมกลืน โดยยึดความเป็นเอกภาพ

ชื่อผลงาน ชีวิตและศรัทธา
เทคนิค ประติมากรรมหล่อโลหะ
ผลงานของเข็มรัตน์ กองสุข
ผลงาน ประติมากรรมลอยตัว
สื่อความหมาย
เป็นผลงานประติมากรรมในรูปแบบตามความรู้สึก ที่ทำให้ผู้ชมใช้จินตนาการและความรู้สึกด้วยตนเอง
ศิลปินถ่ายทอดผลงานด้วยทัศนธาตุต่างๆที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือรูปร่าง รูปทรง และบริเวณว่าง ที่มีรูปแบบตามความรู้สึก แสดงเส้นรอบนอกด้วยเส้นโค้งและเส้นตรงได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องกัน ขนาด สัดส่วนของผลงานก็สัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ดูมีความมั่นคง ส่วนสีของผลงานนั้นเป็นสีแท้ของวัสดุ ศิลปินได้นำบริเวณว่างมาสร้างจุดสนใจในผลงาน โดยการเจาะจงผลงานให้เกิดบริเวณว่าง
2. แนวคิดในงานทัศนศิลป์เกิดจากเหตุผล
งานทัศนศิลป์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิด ความรู้สึก และความประทับใจในแง่มุมต่างๆ อันเป็นเหตุผลให้เกิดรูปแบบและวิธีการในการถ่ายทอดเป็นผลงานทัศนศิลป์ ซึ่งเกิดจากเหตุผลหลักๆดังนี้
2.1 ความประทับใจ เกิดจากการได้สัมผัส ชื่นชม และซาบซึ้งกับความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้น ซึ้งอาจจะมีรูปแบบในการถ่ายทอดเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น

ชื่อผลงาน ลูกม้า
เทคนิค ประติมากรรมปูนปลาสเตอร์
ผลงานของไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
ผลงาน ประติมากรรมลอยตัว
สื่อความหมาย
เป็นผลงานประติมากรรมที่เกิดจากความประทับใจในท่วงท่า และลีลาในการทำความสะอาดตัวเองของลูกม้า
2.2 แรงบันดาลใจ
เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชาติ ศาสนา เทพเจ้า กษัตริย์ เป็นต้น แล้วเกิดความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานาศิลปะเพื่ออุทิศถวายในสิ่งที่ตนเคารพบูชา รูปแบบในการถ่ายทอดอาจเป็นผลงานที่เหนือจากความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากจินตนาการหรือความเชื่อในแบบอุดมคติ เช่น

ชื่อผลงาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
เทคนิค สีน้ำบนกระดาษ
ผลงานของเกริกบุระ ยมนาค
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรัก ความจงรักภักดี และความศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ปิรามิดแห่งเมืองกิเซ นักเรียนสามารถ อธิบายสื่อความหมายได้ว่าอย่างไร………………………………..
…………………………………………………………………………………

2.3 สัญลักษณ์หรือสิ่งแทน
เกิดจากความต้องการสื่อสารเพื่อให้ผู้ชมผลงานได้เข้าใจในความหมายที่ต้องการสื่อ เป็นการเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย โดยมีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือสิ่งแทน
เช่น

ชื่อผลงาน การล่าสัตว์ปีก
เทคนิค จิตรกรรมปูนเปียก
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะอียิปต์ มีลักษณะการแสดงออกทางสัญลักษณ์สื่อสิ่งแทน เพื่อแสดงความสำคัญของฐานะบุคคล ด้วยขนาด สัดส่วน เช่น ภาพยนตร์หรือฟาโรห์จะมขนาดใหญ่ทีสุด

ที่มา:http://preede.wordpress.com/

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น